analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “ความหวังของแรงงานไทย ในวันแรงงานแห่งชาติ ”
แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 72.3 มีชีวิตความเป็นอยู่ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19
โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 41.4 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม ส่วนร้อยละ 30.9 มีชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง
ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 ยังเจอผลกระทบต่อการทำงาน
โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 44.5 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม รองลงมาร้อยละ 31.3 ต้องทำงานเยอะขึ้น
สิ่งที่อยากขอในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 อยากให้ควบคุมราคาสินค้า ไม่ให้กระทบค่าครองชีพ
รองลงมา อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คิดเป็นร้อยละ 72.2
ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 อยากให้มีการพัฒนาทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่
เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากล
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชน เรื่อง “ความหวังของแรงงานไทย ในวันแรงงานแห่งชาติ” โดยเก็บ
ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานพบว่า
 
                  เมื่อถามว่าชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วง
สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานร้อยละ 41.4
มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ส่วนร้อยละ 30.9 มีชีวิตความเป็นอยู่
แย่ลง ขณะที่ร้อยละ 27.7 มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามว่ายังต้องเจอผลกระทบต่อการทำงานหรือไม่ หลังจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ
71.9 ยังเจอผลกระทบ โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 44.5 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม
รองลงมาร้อยละ 31.3 ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น และร้อยละ 24.0 ไม่มี
OT เงินโบนัส
ขณะที่ร้อยละ 28.1 ไม่เจอกับผลกระทบ
 
                  เมื่อถามว่า “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร” พบว่า แรงงานร้อยละ 45.7
มีรายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม
ขณะที่ร้อยละ 38.6 มีรายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้
ต้องหยิบยืม ส่วนที่เหลือร้อยละ 15.7 มีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
 
                  สิ่งที่อยากขอให้กับแรงงาน ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 อยากให้ควบคุม
ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ
รองลงมาคือ อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคิดเป็น
ร้อยละ 72.2 และอยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆ ปี คิดเป็นร้อยละ 52.7
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าอยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงาน
สากลพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 อยากให้พัฒนาทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่
รองลงมาคือ
ทักษะทางภาษา คิดเป็นร้อยละ 44.6 และทักษะในการสื่อสารทางการตลาด คิดเป็นร้อยละ 27.1
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

 
ร้อยละ
ดีขึ้น
27.7
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
41.4
แย่ลง
30.9
 
 
             2. ผลกระทบต่อการทำงานที่ยังต้องเจอหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย
 
ร้อยละ
ยังเจอผลกระทบ ได้แก่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม ร้อยละ 44.5
  ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น ร้อยละ 31.3
  ไม่มี OT เงินโบนัส ร้อยละ 24.0
  หางานได้ยากขึ้น ร้อยละ 21.5
  ถูกลดสวัสดิการต่างๆ ที่เคยได้รับลง ร้อยละ 19.1
  ตกงาน ต้องหางานใหม่ ร้อยละ 12.8
71.9
ไม่เจอผลกระทบ

28.1
 
 
             3. ข้อคำถาม “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร”

 
ร้อยละ
รายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
15.7
รายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม
45.7
รายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม
38.6
 
 
             4. สิ่งที่อยากขอให้กับแรงงาน ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้  (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ
73.9
อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
72.2
อยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆ ปี
52.7
อยากให้ดูแลสวัสดิการความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลแก่แรงงาน
44.2
อยากให้สร้างงาน สร้างอาชีพ ลดภาวการณ์ว่างงาน
42.1
อยากให้ดูแลสวัสดิการเกี่ยวกับผู้เกษียณอายุ ผู้สูงอายุ
33.1
อื่นๆ อาทิ ดูแลความเป็นอยู่แรงงาน ดูแลแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
0.3
 
 
             5. ข้อคำถาม “อยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากล”
                  (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่
63.6
ทักษะทางภาษา
44.6
ทักษะในการสื่อสารทางการตลาด
27.1
ทักษะในการสร้างสรรค์และนวัตกรรม
24.1
ทักษะทางด้านเทคโนโลยี
21.9
ทักษะในการคิดและวิเคราะห์
16.0
อื่นๆ อาทิ ไม่มี ไม่ทราบ
0.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
                  2) เพื่อต้องการทราบถึงผลกระทบที่ยังต้องเจอหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย
                  3) เพื่อสะท้อนถึงสิ่งที่อยากขอให้กับแรงงานในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้
                  4) เพื่อสะท้อนถึงทักษะที่อยากให้มีการพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากล
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
จำนวน 11 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร ดอนเมือง ดุสิต บางเขน
บางกะปิ บางซื่อ ภาษีเจริญ มีนบุรี สายไหม หนองแขม หลักสี่ และปริมณฑล 2 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 643 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 18 – 23 เมษายน 2566
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 29 เมษายน 2566
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
332
51.6
             หญิง
311
48.4
รวม
643
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
206
32.1
             31 – 40 ปี
126
19.6
             41 – 50 ปี
139
21.6
             51 – 60 ปี
98
15.2
             61 ปีขึ้นไป
74
11.5
รวม
643
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
600
93.3
             ปริญญาตรี
43
6.7
รวม
643
100.0
อาชีพ:
   
             โรงงานอุตสาหกรรม
52
8.1
             กรรมกรก่อสร้าง
45
7.0
             รปภ. / ภารโรง
107
16.6
             แม่บ้าน / คนสวน
107
16.6
             รับจ้างทั่วไป
215
33.5
             ช่างซ่อมตามอู่ / ช่างไฟฟ้า / ช่างซ่อม
22
3.4
             พนักงานบริการ / นวดแผนโบราณ
37
5.8
             พนักงานขับรถ
2
0.3
             พนักงานขาย
56
8.7
รวม
643
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898